แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ จักรยานยนต์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ จักรยานยนต์ แสดงบทความทั้งหมด

5 ก.ย. 2556

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค



ประเทศไทยมีรถมอเตอร์ไซค์มากเป็นอันดับที่ 8 ของโลก โดยสัดส่วนการถือครองจักรยานยนต์สูงถึง 4 คนต่อคัน เพราะราคาไม่แพง และมีความคล่องตัวในการใช้การขับขี่จักรยานให้ปลอดภัยเราควรที่จะสวมหมวกกันน็อคเพื่อป้องกันศรีษะเมื่อเกิดอุบัติเหตุวันนี้มาดูบทความที่พูดถึงเรื่องหมวกกันน็อคกันดีกว่าครับว่าสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไรและมีองค์ประกอบอะไรบ้างสำหรับหมวกกันน็อค อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับชาวสองล้อทุกท่าน

ข้อเท็จจริงจากผลการศึกษาผู้บาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย และต่างประเทศยืนยันชัดเจนตรงกัน การสวมหมวกนิรภัยสามารถช่วยได้ คือ 

  • ช่วยลดความเสี่ยง และความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะลงได้ 72% 
  • ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ถึง 39% ในกรณีที่ใช้ความเร็วไม่สูงมากนักขณะเกิดอุบัติเหตุ 
  • ลดค่ารักษาพยาบาล และลดจำนวนวันที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
องค์ประกอบของหมวกกันน็อค
เปลือกนอก - ทำจากวัสดุชนิดพิเศษ จะต้องแข็งแรง น้ำหนักเบา เพื่อสามารถทนแรงกระแทกจากของแข็ง และของมีคมได้โดยไม่แตก หรือทะลุได้ง่าย 

รองใน - เป็นชั้นบุที่ทำมาจากวัสดุที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษ มีคุณสมบัติอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น ความหนาแน่นสูง สามารถรับและกระจายแรงกระแทกได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากแผ่นโฟมชนิดโพลีสไตรีนที่ยืดออก หรือเรียกว่า "สไตโรโฟม" แผ่น

กันลม - ติดอยู่ด้านหน้าของหมวกกันน็อค สำหรับป้องกันแสง ฝุ่น ฝน แมลง ฯลฯ ที่จะเข้าตาในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ มีทั้งชนิดใส เพื่อใช้ในเวลากลางคืน และชนิดทึบเพื่อใช้ในเวลากลางวันที่มีแดดจัด สามารถถอดเปลี่ยนได้ 

เบาะหุ้มภายใน - ส่วนประกอบที่เพิ่มความอ่อนนุ่มขณะสวมใส่ สามารถถอดออกได้เพื่อทำความสะอาด 

สายรัดคาง - ทำหน้าที่รัดให้หมวกกันน็อคติดแนบกับศีรษะไม่หลุดง่าย แต่ต้องรัดให้ถูกวิธี หากรัดไว้หลวมๆ หรือไม่รัด หมวกอาจหลุดออกจากศีรษะโดยง่ายเป็นเหตุให้ศีรษะยังคงเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย และบาดเจ็บเสมือนไม่ได้สวมหมวก 

ช่องระบายอากาศ - ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนภายในหมวกให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายขณะที่สวมใส่ จะต้องมีขนาดไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร และต้องออกแบบอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย



หมวกกันน็อคมีเวลาหมดอายุไขการใช้งาน โดยปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี เกินกว่านั้นควรหาซื้อใหม่จะดีกว่า เพราะหากเกิดอุบัติเหตุจะไม่คุ้ม หวังว่าทุกท่านคงจะขับขี่อย่างปลอดภัย ใช้ความเร็วตามที่กฏหมายกำหนด และใช้หมวกกันน็อคกันทุกคนนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.checkraka.com/knowledge/motorcycle-15-157/เรื่องควรรู้เกี่ยวกับหมวกกันน็อค-1607154/