แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเงิน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การเงิน แสดงบทความทั้งหมด

23 ม.ค. 2557

10 เรื่องต้องรู้ "เครดิตบูโร" ก่อนยื่นขอสินเชื่อหรือบัตรเครดิต



หลายท่านอาจจะสงสัยกันว่าเจ้าเครดิตบูโร (Credit Bureau) นี้คืออะไรเหรอ? ทำไมต้องมี? และมีความสำคัญกับพวกเรายังไงเหรอ? วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

1. เครดิตบูโรคืออะไร? หากจะพูดภาษาชาวบ้านง่ายๆ แล้ว เครดิตบูโรก็คือ องค์กรกลางที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ และบัตรเครดิตโดยข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากทั้งสถาบันการเงิน และ Non-Bank ที่เป็นสมาชิกขององค์กรกลางนี้ องค์กรกลางนี้จะเป็นคนเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้สมาชิก (ซึ่งก็คือพวกสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank ด้วยกันเอง) หรือบุคคลทั่วไปให้เข้ามาดูได้ว่ารายละเอียดสินเชื่อ หรือบัตรเครดิตของพวกเราแต่ละคนเป็นอย่างไร มีประวัติหนี้ดีหนี้เสียอะไรบ้าง พฤติกรรมทางการเงินเราเป็นอย่างไร มีภาระหนี้มากน้อยแค่ไหน จ่ายครบ จ่ายตรงหรือไม่ ในเมืองไทย องค์กรกลางนี้เรียกว่า "บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด"

2. ข้อมูลเครดิตบูโรที่เก็บเป็นเรื่องอะไร? ข้อมูลที่อยู่กับเครดิตบูโรจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับลูกค้า คือชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น โดยจะมีเพียงเท่านี้เท่านั้น เครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลอื่นอย่างเช่น ลักษณะพิการทางร่างกาย หรือคดีอาญาเกี่ยวกับคนๆ นั้นไม่ได้ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการขอ และได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชำระราคาสินค้า หรือบริการโดยบัตรเครดิตด้วย โดยคำว่า "สินเชื่อ" ตามกฎหมายเครดิตบูโรในที่นี้จะกินความกว้างนะคะ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการกู้ยืมเงินสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น แต่จะรวมถึงเช่าซื้อรถยนต์ ลิสซิ่ง ค้ำประกัน ให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย แต่สินเชื่อจะเป็นคนละเรื่องกับเงินฝาก หรือทรัพย์สินที่พวกเรามีนะคะ พูดอีกแบบก็คือ ข้อมูลเครดิตบูโรจะแสดงข้อมูลฝั่ง "หนี้สิน" เท่านั้น

3. ข้อมูลได้มาจากไหน? ข้อมูลจะได้จาก "สมาชิก" ของเครดิตบูโร ซึ่งสมาชิกก็เป็นพวกเจ้าหนี้ทั้งหลายของพวกเราล่ะค่ะ มีทั้งธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (เช่น ออมสิน) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกัน (ทั้งวินาศภัยและประกันชีวิต) และผู้ให้บริการบัตรเครดิต เป็นต้น ดังนั้น ในทางปฏิบัติหากเราขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือ Non-Bank ที่อยู่ในระบบแทบจะทุกที่ (ซึ่งก็คือสถาบันที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง) ก็จะมีข้อมูลเชื่อมโยงไปที่เครดิตบูโรหมด แต่ผู้ให้บริการสาธารณูปโภค เช่น การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง ค่ายบริษัทมือถือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต พวกนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ดังนั้น ถ้ามีใครมาทวงหนี้เราบอกว่า เราไม่จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือจะทำให้ติด Blacklist ของเครดิตบูโรนั้น พวกนี้ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้นนะคะ เพราะเครดิตบูโรไม่ได้มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ตใดๆ ทั้งสิ้น

4. ใครขอดูข้อมูลได้บ้าง? คนที่ขอดูข้อมูลได้มี 2 ประเภทคือ "สมาชิก" (ซึ่งก็คือที่พูดถึงในข้อ 3 ข้างต้น) และบุคคลทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ โดยวัตถุประสงค์ในการขอดูนั้นจะดูได้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์สินเชื่อ และการออกบัตรเครดิตเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเราจะยื่นขอกู้แบงค์ A และเรามีหนี้ค้างชำระกับแบงค์ B อยู่ เวลาเรายื่นขอกู้กับแบงค์ A ทางแบงค์ A ก็จะเข้าไปดูข้อมูลสินเชื่อในเครดิตบูโรที่เรามีอยู่กับแบงค์ B ได้ว่าประวัติการชำระหนี้เราเป็นอย่างไร สำหรับกรณีของบุคคลทั่วไปอย่างเราๆ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเครดิตบูโรนั้น เราจะสามารถขอดูข้อมูลของตัวเองได้เท่านั้น (โดยเสียค่าบริการตั้งแต่ 150-200 บาท) จะไปขอแอบดูข้อมูลเครดิตบูโรของสามี ภรรยา เพื่อนที่เราเกลียด หรือคนอื่นไม่ได้เลยถ้าคนพวกนี้เขาไม่ได้ทำหนังสือมอบอำนาจมาให้เราขอดูแทนได้

5. เราจะขอดูข้อมูลเครดิตบูโรที่ไหนได้บ้าง? พวกเรา (ในฐานะบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือธนาคารที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร) สามารถขอดูข้อมูลเครดิตบูโรเกี่ยวกับตัวเราเองได้ที่ธนาคารบางแห่ง หรือศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ดังต่อไปนี้

1. ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยขอตรวจสอบผ่านทางเคาน์เตอร์สาขาธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม หรือระบบ Internet Banking สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1551 หรือ www.ktb.co.th
2. ส่วนบริหารเจ้าของข้อมูลผู้บริโภคของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250 เวลาทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. - 16.30 น.
3. สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ด้านในสถานี) (เฉพาะข้อมูลบุคคลธรรมดาเท่านั้น) เวลาทำการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00 น. - 18.00 น.
4. ห้างเจเวนิว (นวนคร) ติดโรงพยาบาลนวนคร (เฉพาะข้อมูลบุคคลธรรมดาเท่านั้น) เปิดทำการทุกวัน เวลา 10.00 น. - 19.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์
5.อาคารกลาสเฮ้าส์ ชั้นใต้ดิน ซอยสุขุมวิท 25 (เฉพาะข้อมูลบุคคลธรรมดาเท่านั้น) เปิดทำการทุกวัน เวลา 09.00 น. - 16.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์

โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมคือ (กรณีบุคคลธรรมดา) บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริงนำมาแสดง แต่ถ้าเราไปไม่ได้จะให้คนอื่นทำให้ก็ได้ โดยต้องเตรียมเอกสารคือ หนังสือมอบอำนาจ (กรอกรายละเอียดและลงนามให้สมบูรณ์ครบถ้วน) สำเนาพร้อมตัวจริงบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และสำเนาพร้อมตัวจริงบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

คลิกดูบทความเครดิตบูโรในส่วนข้อ 6-10 ได้ที่นี่ครับ

25 ธ.ค. 2556

เลือกซื้อ LTF หรือ RMF ตัวไหนดีก่อนสิ้นปี 2013?

ใกล้สิ้นปีเข้ามาทุกที คำถามสำหรับมนุษย์เงินเดือนซึ่งเสียภาษีและสนใจในการซื้อกองทุนที่ถามกันบ่อยสุดคือ "จะซื้อ LTF หรือ RMF ตัวไหนดี?" วันนี้ Checkraka.com ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจมาฝาก และเป็นประโยชน์เพื่อช่วยตอบคำถามยอดฮิตนี้ได้

LTF (Long Term Equity Fund) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

สำหรับ LTF บ้านเรานั้น แทบจะทั้งหมดจะเป็นการเข้าลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นหลัก แต่จะมีบางกองทุนที่มีชื่อตามด้วยเลขเช่น 70/30 หรือ 75/25 ซึ่งกองทุนพวกนี้ก็จะเน้นลงทุนในหุ้นสามัญเหมือนกัน แต่จะจำกัดสัดส่วน เช่น ถ้าเป็น 70/30 ก็จะลงหุ้นสามัญ 70% ส่วนอีก 30% อาจเป็นตราสารหนี้ หรือเงินฝากธนาคารเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในตลาดทุน

LTF แบบเน้นลงทุนในหุ้นสามัญ SET (Equity Large Cap) และไม่มีนโยบายจ่ายปันผล



LTF แบบเน้นลงทุนในหุ้นสามัญ SET (Equity Large Cap) และมีนโยบายจ่ายปันผล



RMF (Retirement Mutual Fund) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 

สำหรับ RMF บ้านเรานั้น มีความหลากหลายมากเพื่อรองรับความเสี่ยงตั้งแต่ระดับต่ำถึงสูงตามอายุของผู้ลงทุน โดยมีทั้งแบบเน้นหุ้นสามัญ (เหมือน LTF ข้างบน) แบบเน้นตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) แบบผสมทั้งหุ้นและตราสารหนี้ (Balance Fund) หรือแบบเน้นตราสารการเงินระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน (Money Market Fund) ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างให้ดูสัก 3 แบบดังนี้

RMF แบบเน้นลงทุนในหุ้นสามัญ SET (Equity Large Cap) และไม่มีนโยบายจ่ายปันผล
RMF แบบเน้นลงทุนในตราสารหนี้ (Mid/Long Term Fixed Income) และไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
RMF แบบผสมทั้งหุ้นสามัญและตราสารหนี้ (Balanced Fund) และไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล

หวังว่าตารางจัดลำดับข้างต้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยในการประกอบการตัดสินใจซื้อนะครับ แต่มี 2 เรื่องที่อยากเน้น ประเด็นแรกคือ "ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต" อันแรกนี่เข้าใจง่ายชัดเจนครับ และประเด็นที่สองคือ ในชีวิตจริงคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง (Risk Averse) ไม่ควรจะเลือกซื้อจากผลตอบแทนย้อนหลังอย่างเดียว เพราะกองทุนมีปัจจัยมากมายอย่างที่บอกมาตอนต้น เช่น ในกรณีของ Morningstar Rating ข้างบน การได้ผลตอบแทนดีไม่ได้หมายความว่าจะได้ดาวเยอะๆ เพราะการได้ดาวเยอะๆ จะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ขอให้ทุกคน